นวัตกรรมที่ 1 การทำให้เห็นภาพ
หลัการ 7 ข้อเกี่ยวกับมัลติมีเดีย
กลยุทธ์ 3 ด้านในการใช้เทคโนโลยีเพื่อดึงประโยชน์จากการทำให้เห็นภาพและเพื่อให้นักเรียนอ่านภาพออก
3. ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการสื่อสารด้วยภาพ
มาตรฐานหลักในการออกแบบภาพ
- ความแตกต่าง
เหตุผลที่ใช้ความแตกต่างคือเพื่อในแน่ใจว่าองค์ประกอบแต่ละอย่างของการออกแบบภาพมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ความแตกต่างจะพึงดูดสายตา ทำให้ผู้อ่านสนใจ เช่น ขนาดอักษรที่แตกต่างกัน
ตัวอักษรขนาด ( 20 พอยต์ 28 พอยต์ 36 พอยต์ )
- การปรากฏซ้ำ
องค์ประกอบที่ปรากฏซ้ำ ๆ ในงานออกแบบจะเพิ่มความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของชิ้นงาน เทคนิคการปรากฏซ้ำสามารถใช้กับฟอนต์ รูปร่าง สี ความหนา ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ และองค์ประกอบอื่น ๆ
- การจัดตำแหน่ง
- หัวข้อด้านบน
- ภาพ
- ธรรมชาติของการอ่านจากซ้ายไปขวา (ภาษาอังกฤษ, ภาษาไทย)
- เคลื่อนไหวซ้ำ ๆ
- ความใกล้ชิด
นวัตกรรมที่ 2 การทำความรู้ให้เป็นประชาธิปไตย
หัวข้อที่ควรพิจารณาเกี่ยวกับการทำความรู้ให้เป็นประชาธิปไตย
- การรู้จักใช้ข้อมูล
- การค้นหาข้อมูลอย่างรู้จักใช้- สำรวจเว็บที่เห็นและที่ยังไม่เห็น
- วิพากษ์วิจารณ์เว็บไซต์เพื่อตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล
- พยายามค้นหาข้อมูลอย่างสมดุลและครบถ้วน
วัตถุการเรียนรู้
เป็นทรัพยากรที่สมบูรณ์ในตัวเอง สามารถใช้ซ้ำเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ได้- ยุคแรก
: วัตถุเสมือน
- ยุคปัจจุบัน
: วิดีโอบนยูทูบ ไฟล์เสียง วิดีโอสำหรับไอพอด เว็บไซต์แบบโต้ตอบ สไลด์ที่มีคำบรรยาย ฯลฯ
การจำลอง
นักเรียนจะเรียนรู้ได้ลึกซึ้ง เมื่อสามารถทดลองปรับตัวแปรต่าง ๆ ในแบบจำลอง ตัวอย่างเช่น เครื่องมือยุคใหม่ที่ชื่อ Yenka
วิชาเรียนที่เผยแพร่ในมหาวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัย เริ่มมีการเผยแพร่วิชาเรียนทางออนไลน์ สู่สาธารณชนมากขึ้น
ซึ่งเป็นทรัพยากรอีกแหล่งหนึ่งที่นักเรียนสามารถเข้าถึงวิชาเรียนแบบดิจิทัลของมหาวิทยาลัย รวมถึงการบรรยายและการสัมภาษณ์ต่าง ๆ
วิชาเรียนออนไลน์สำหรับครูและนักเรียนระดับก่อนอุดมศึกษา
- การเรียนรู้ออนไลน์ของครูและนักศึกษาระดับก่อนอุดมศึกษาเป็นการเรียนรู้ที่เติบโตเร็วที่สุดในบรรดาเทคโนโลยีการศึกษาต่างๆ- การเรียนออนไลน์สามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้เรียน
- การเข้าถึงวิชาเรียนทางออนไลน์เป็นโอกาสอันยิ่งใหญ่สำหรับนักเรียนที่กำลังมองหาทางเลือก
บทเรียนในวิชาออนไลน์
- การเรียนรู้ทางออนไลน์เพื่อเสริมการเรียนการสอนในห้องเรียน- บางกรณีใช้บทเรียนออนไลน์เป็นส่วนหนึ่งของวิชา
นวัตกรรมที่ 3 การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
- รูปแบบทางสังคมใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นประวัติการณ์ ตัวอย่างหนึ่งที่เป็นนวัตกรรม คือ การใช้เฟซบุ๊ก ให้นักเรียนสนใจเรื่องตารางธาตุ
- ที่โรงเรียน High Tech Middle ในซานดิเอโก นักเรียนสร้างเครือข่ายสังคมเพื่อแสดงอัตลักษณ์ของตนโดยเปรียบเทียงกับธาตุต่าง ๆ ครูขอให้นักเรียนแจกแจงลักษณะนิสัยของตนเอง ระบุคุณลักษณะของธาตุต่าง ๆ แล้วเลือกธาตุที่มีคุณลักษณะตรงกับนิสัยของตนเองมาที่สุด
กรอบการประเมินของนวัตกรรมทั้ง 3
- วิสัยทัศน์ – โรงเรียนของคุณมีการคิดไปข้างหน้า อันเป็นวิสัยทัศน์ทั่วไปของศตวรรษที่ 21 ซึ่งมองนวัตกรรมทางสังคมว่าเป็นพลังสำคัญในการเปลี่ยนแปลงหรือไม่
- การคิด/ การเป็นผู้นำอย่างเป็นระบบ – นักการศึกษาและบุคลากรทั้งหมดกำลังคิดและปฏิบัติอย่างเป็นระบบโดยสอดคล้องกับวิสัยทัศน์หรือไม่
- ทักษะและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 – วิสัยทัศน์ของการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 ถูกใช้ภายใต้กลยุทธ์ทางการศึกษาที่อิงจากงานวิจัยหรือไม่
- สภาพแวดล้อมของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 – วิสัยทัศน์ของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เกิดขึ้นจริงในโรงเรียนของคุณหรือไม่
- ศักยภาพของบุคลากร – ครู ผู้บริหาร และบุคลากร พร้อมหรือไม่ที่จะอำนวยความสะดวก นำและประเมินการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 แก่นักเรียน ชุมชน และผู้ปกครอง
- โครงสร้างพื้นฐานและการเข้าถึง – การเข้าถึงเครื่องมือทางเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานของโรงเรียนเพียงพอที่จะสนับสนุนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 หรือไม่
- ภาวะรับผิดชอบ – นักเรียน นักการศึกษา และระบบสามารถรับผิดชอบในการสร้างความก้าวหน้า พร้อมกับให้ข้อมูลและการสนับสนุนเพื่อให้บรรลุผลหรือไม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น