หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การประเมินสื่อ

แนวคิดการบ่งบอก (สะท้อน) ประสิทธิภาพสื่อการสอน


แนวคิด

  1. การประเมินสื่อการศึกษา เป็นกระบวนการพิจารณาตัดสินคุณภาพของสื่อที่สร้างขึ้น เพื่อใช้ในการเรียนการสอนตามเอกัตภาพ
  2. สื่อที่ใช้ในการจัดการศึกษาที่นิยมใช้มี 2 ชนิด คือ ชุดกิจกรรม หรือชุดการสอนรายบุคคล และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือบทเรียนโปรแกรม ซึ่งสื่อทั้งสองชนิดมีวิธีการหาค่าประสิทธิภาพแตกต่างกัน
  3. เกณฑ์ E1/E2 คือ เกณฑ์ที่ใช้ประเมินชุดการสอน โดยดูจากค่าตัวเลขที่สะท้อนประสิทธิภาพจากการทำกิจกรรมระหว่างเรียน และการทดสอบหลังเรียน
  4. เกณฑ์มาตรฐาน 90/90 (The 90/90 standard) คือ เกณฑ์ที่ใช้ประเมินบทเรียนสำเร็จรูป และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยดูจากค่าตัวเลขที่สะท้อนประสิทธิภาพจากการทดสอบหลังเรียน และร้อยละของผู้เรียนที่ผ่านทุกจุดประสงค์ของการเรียนรู้

วัตถุประสงค์



การประเมินชุดการสอนรายบุคคล


ความหมายของการทดสอบประสิทธิภาพ



  • การทดสอบประสิทธิภาพใช้เบื้องต้น

          การนำสื่อหรือชุดการสอนที่ผลิตขึ้นเป็นต้นแบบ (Prototype) แล้วไปทดลอบประสิทธิภาพใช้ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในแต่ละระบบ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของสื่อหรือชุดการสอนให้เท่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และปรับปรุงจนถึงเกณฑ์

  • การทดสอบประสิทธิภาพสอนจริง

          การนำสื่อหรือชุดการสอนที่ได้ทดสอบประสิทธิภาพใช้และปรับปรุงจนได้คุณภาพถึงเกณฑ์แล้วของแต่ละหน่วย ทุกหน่วยในแต่ละวิชาไปสอนจริงในชั้นเรียนหรือในสถานการณ์การเรียนที่แท้จริงในช่วงเวลาหนึ่ง อาทิ 1 ภาคการศึกษาเป็นอย่างน้อย เพื่อตรวจสอบคุณภาพเป็นครั้งสุดท้ายก่อนนำไปเผยแพร่และผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก

ความจำเป็นที่จะต้องหาประสิทธิภาพ

  1. สำหรับหน่วยงานผลิตสื่อหรือชุดชุดการสอน การทดสอบประสิทธิภาพช่วยประกันคุณภาพของสื่อหรือชุดการสอนว่าอยู่ในขั้นสูง
  2. สำหรับผู้ใช้สื่อหรือชุดการสอน สื่อหรือชุดการสอนที่ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพ จะทำหน้าที่เป็นเครื่องมือช่วยสอนได้ดี
  3. สำหรับผู้ผลิตสื่อหรือชุดการสอน การทดสอบประสิทธิภาพจะทำให้ผู้ผลิตมั่นใจได้ว่า เนื้อหาสาระที่บรรจุลงในสื่อหรือชุดการสอนมีความเหมาะสม

  • การกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพ

          ความหมายของเกณฑ์(Criterion)
                 เกณฑ์เป็นขีดกำหนดที่จะยอมรับว่า สิ่งใดหรือพฤติกรรมใดมีคุณภาพและหรือปริมาณที่จะรับได้ การตั้งเกณฑ์ ต้องตั้งไว้ครั้งแรกครั้งเดียวเพื่อจะปรับปรุงคุณภาพให้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่ตั้งไว้ จะตั้งเกณฑ์การทดสอบประสิทธิภาพไว้ต่างกันไม่ได้

          ความหมายของเกณฑ์ประสิทธิภาพ
                 ระดับประสิทธิภาพของสื่อหรือชุดการสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เป็นระดับที่ผลิตสื่อหรือชุดการสอนจะพึงพอใจว่าหากสื่อหรือชุดการสอนมีประสิทธิภาพถึงระดับนั้นแล้ว สื่อหรือชุดการสอนนั้นก็มีคุณค่าที่จะนำไปสอนนักเรียนและคุ้มแก่การลงทุนผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก




  • ประเมินพฤติกรรมสุดท้าย

          E1/E2
                -  ประสิทธิภาพของสื่อหรือชุดการสอนจะกำหนดเป็นเกณฑ์ที่ผู้สอนคาดหมายว่าผู้เรียนจะเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นที่พึงพอใจ โดยกำหนดให้ของผลเฉลี่ยของคะแนนการทำงานและการประกอบกิจกรรมของผู้เรียนทั้งหมดต่อร้อยละของผลการประเมินหลังเรียนทั้งหมด นั่นคือ E1/E2 = ประสิทธิภาพของกระบวนการ/ประสิทธิภาพของผลลัพธ์
                -  ตัวอย่าง 80/80 หมายความว่าเมื่อเรียนจากสื่อหรือชุดการสอนแล้ว ผู้เรียนจะสามารถทำแบบฝึกปฏิบัติ หรืองานได้ผลเฉลี่ย 80% และประเมินหลังเรียนและงานสุดท้ายได้ผลเฉลี่ย 80%

           E1/E2 = 75.67/87.66
                -  เมื่อผู้เรียนเรียนจากชุดการสอนชุดนี้แล้วสามารถทำ
                          :  คะแนนเฉลี่ยระหว่างเรียนได้ 75.67
                          :  คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนได้ 87.66

ความคลาดเคลื่อนของผลลัพธ์

  • ความคลาดเคลื่อนหรือความแปรปรวนของผลลัพธ์ได้
          -  ไม่เกิน .05 (ร้อยละ 5) จากช่วงต่ำไปสูง = ±2.5 มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ ไม่เกิน 2.5% และสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ไม่เกิน 2.5%
          -  หากคะแนน E1 หรือ E2 ห่างกันเกิน 5% แสดงว่า กิจกรรมที่ให้นักเรียนทำกับการสอบหลังเรียนไม่สมดุลกัน

ขั้นตอนการหาประสิทธิภาพชุดการสอน

  • แบบเดี่ยว (1:1) นำสื่อไปทดลองใช้กับนักเรียน 1-3 คน โดยทดลองกับนักเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน
                                                           นำไปปรับปรุง
  • แบบกลุ่ม (1:10) นำสื่อไปปรับปรุงแล้วไปทดลองกับนักเรียน 6-10 คน ที่มีความสามารถคละกัน
                                                           นำไปปรับปรุง
  • ภาคสนาม (1:100) นำสื่อไปทดลองใช้ในชั้นเรียนที่มีนักเรียนตั้งแต่ 20-100 คน หากการทดลองภาคสนาม E1/E2 ไม่ถึงเกณฑ์ที่ตั้งไว้จะต้องปรับปรุงสื่อ แล้วทำการทดสอบประสิทธิภาพซ้ำ


     การประเมิน CAI บทเรียนสำเร็จรูป บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน


เกณฑ์ประสิทธิภาพ 90/90

  • เหมาะกับการหาประสิทธิภาพสื่อที่เรียนรู้ด้วยตนเอง ไม่จำกัดเวลาเรียน
  • แบบเรียนสำเร็จรูป
  • แบบเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

     การเตรียมความพร้อมก่อนการหาค่าประสิทธิภาพ

          1. กำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของการเรียนรู้ที่จะเกิดขึ้นจากสื่อให้ชัดเจนซึ่งองค์ประกอบของวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ดีต้องประกอบด้วย

                 -  สถานการณ์หรือเงื่อนไข
                 -  คำบ่งบอกพฤติกรรมที่สังเกตและวัดได้
                 -  เกณฑ์ที่บ่งบอกถึงความสำเร็จ
          2. สร้างตารางวิเคราะห์หลักสูตร เพื่อกำหนดค่าน้ำหนักของเนื้อหาสาระในแต่ละวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
          3. ออกข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามค่าน้ำหนักที่กำหนด ซึ่งจะทำให้ได้ข้อสอบวัดครบถ้วนตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมทุกข้อ
          4. จัดทำข้อสอบ โดยจะต้องรู้ว่าข้อสอบข้อใดวัดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อใด

     เกณฑ์มาตรฐาน 90/90 (The 90/90 standard)

90 ตัวแรก หมายถึง จำนวนร้อยละของผู้เรียนที่สามารถทำแบบทดสอบผ่านทุกวัตถุประสงค์
90 ตัวที่สอง จำนวนของร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบหลังเรียน
ΣX หมายถึง คะแนนรวมของผลสอบหลังเรียนของผู้เรียนแต่ละคน
N หมายถึง จำนวนผู้เรียนทั้งหมดที่ทดสอบ
R หมายถึง คะแนนเต็มของแบบทดสอบ
Y หมายถึง จำนวนผู้เรียนที่สอบผ่านทุกวัตถุประสงค์

หลักการประเมิน

   การประเมินสื่อที่เรียนรู้ด้วยตนเองจะมุ่งรับประกันคุณภาพใน 2 ประเด็น
         1.  บ่งบอกคุณภาพของผลลัพธ์การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
         2.  บ่งบอกศักยภาพของสื่อว่าสามารถจะพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ครบถ้วนตามจุดประงสงค์การเรียนรู้ได้เป็นจำนวนเท่าใด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น